สำรวจทีม ในที่สุด นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ด ก็ตกอยู่ในกำมือของกลุ่มทุนจาก ซาอุดิ อาระเบีย แรกทีเดียว เชื่อกันว่าดีลนี้ไม่น่าจะมีวันเกิดขึ้นได้หลังราชวงศ์จากตะวันออกกลางเคยติดต่อขอซื้อ สาลิกาดง มาก่อน

สำรวจทีม ในที่สุด นิวคาสเซิ่ลยูไนเต็ด ก็ตกอยู่ในกำมือของกลุ่มทุนจาก ซาอุดิ อาระเบีย แรกทีเดียว เชื่อกันว่าดีลนี้ไม่น่าจะมีวันเกิดขึ้นได้หลังราชวงศ์จากตะวันออกกลางเคยติดต่อขอซื้อ สาลิกาดง มาก่อน แต่ถูก พรีเมียร์ลีก

สั่งห้ามเพราะว่าประเทศเศรษฐีน้ำมันมีปัญหากับ บีอิน สปอร์ต ในเรื่องลิขสิทธิ์การแพร่ภาพฟุตบอล จนกระทั่งในที่สุด ภายหลังจากผ่านไป 18 เดือน คู่พิพาทก็จบปัญหากันได้ เดอะ แม็กพายส์ ก็เลยได้รับไฟเขียวให้เปลี่ยนแปลงเจ้าของจาก ไมค์ แอชลีย์

มาเป็น พับบลิค อินเวสต์เมนต์ ฟันด์ (พีไอเอฟ) อย่างที่เป็นข่าว อย่างไรก็ตาม ซาอุดิ อาระเบีย ไม่วายถูกโจมตีอย่างมากว่ามีปัญหาละเมิดสิทธิมนุษยชน และก็ส่งผลให้ทั้ง 19 สโมสรใน พรีเมียร์ลีก ลุกฮือต่อต้านการเทคโอเวอร์ครั้งประวัติศาสตร์นี้

แต่ว่าก็นั่นแหละ ไม่มีใครฟังเสียงนกเสียงกาอยู่แล้ว และเงินซื้อได้ทุกอย่างในโลก เดอะ แม็กพายส์ จึงกลายเป็นอีกสโมสรในลีกสูงสุดของอังกฤษที่ตกเป็นสมบัติของเศรษฐีต่างชาติ ด้วยเหตุที่ลีกเมืองผู้ดีเปิดกว้างให้บุคคลภายนอกสามารถซื้อสโมสร

ไปบริหารได้ มันจึงเหมือนเป็นแฟชั่นไปแล้วที่เจ้าสัวปัจจุบันต่างก็พร้อมเจียดจนหน้าแข้งแลกกับความมีหน้ามีตา มีชื่อเสียงในวงกว้างมากขึ้นโดยอาศัยฟุตบอลอังกฤษช่วยโปรโมท หาไม่แล้ว ในวันนี้พวกเราอาจไม่รู้ตระกูล เกลเซอร์ จากอเมริกา

เจ้าของทีมแมนฯยูไนเต็ด หรือแม้กระทั่ง โรมัน อบราโมวิช เจ้าสัวชาวรัสเซียซึ่งเทเงินสร้างความสำเร็จให้ เชลซี กระโดดขึ้นมาเป็นยักษ์ใหญ่ของ พรีเมียร์ลีก อยู่ในช่วงเวลานี้ ยิ่งกว่านั้น ระยะหลังเศรษฐีจากเมืองจีนก็เน้นซื้อกิจการทีมฟุตบอลของยุโรป ไปเป็นเจ้าของด้วยเหมือนกัน

แม้จะตระหนักดีว่าจำเป็นต้องใช้เงินทุนสูง ถ้าหากนึกหวังสร้างให้สโมสรทะยานไปสู่ตำแหน่งแชมป์ ไม่เพียงเท่านั้น มหาเศรษฐีจากแดนสยามกลุ่มหนึ่งก็เดินตามเส้นทางนี้ด้วย โดยเฉพาะตระกูล ศรีวัฒนประภา

ซึ่งได้รับการยกย่องให้เป็นเจ้าของสโมสรที่แฟนบอลรักมากที่สุดในลีกอังกฤษจากการทุ่มเทพาทีม เลสเตอร์ ซิตี้ สร้างชื่อในเวทีใหญ่ได้อย่างน่ายกนิ้วให้ แต่จะน่าแปลกอะไรที่ทีมลูกหนังอังกฤษตกเป็นเป้าหมายของนักธุรกิจที่รวยล้นฟ้า ในเมื่อมันเป็นลีกลูกหนังที่ได้รับความนิยมไปทั่วโลก

เรียกคนดูได้มากถึงหลักพันล้านชีวิตจากจำนวน 188 ประเทศ แต่นอกจากจะตกอยู่ในกำมือของเศรษฐีต่างแดนแล้ว ฟุตบอลพรีเมียร์ลีก ก็เป็นแหล่งรวมตัวของนักเตะต่างชาติที่ย้ายมาโกยเงินปอนด์ กันอย่างเป็นล่ำเป็นสันเช่นกัน

กระทั่งมีการตีแผ่สถิติตัวเลขออกมาว่าเหลือนักเตะเจ้าของประเทศได้ลงสนามเพียงแค่หยิบมือเดียว 36.1 % เท่านั้น กระนั้นก็ดี ลีกโปรตุกีสก็ประสบกับปัญหาในทำนองเดียวกันเนื่องจากนักเตะเลือดฝอยทองมีส่วนเกี่ยวข้องกับ ฟุตบอลลีกในแผ่นดินเกิดเพียงน้อยนิด

สำรวจทีม โดยทั้งสองลีกนี้มีอัตราดังกล่าวต่ำที่สุดในบรรดาหกลีกชั้นนำของทวีป อย่าง เซเรียอา มีตัวเลขในจุดนี้อยู่ที่ 39.3% ขณะที่ บุนเดสลีกา ถือครองตัวเลข 45.2% ส่วน ลีกเอิง และ ลาลีกา มีสัดส่วนอยู่ที่ 47% ข่าวบอล

สำรวจทีม

ประเทศเศรษฐีน้ำมันมีปัญหากับ บีอิน สปอร์ต

สำรวจทีม และ 58.3% ตามลำดับ ต่อปัญหาการบุกรุกเข้ามาของนักเตะต่างชาติ ลีกอิงลิชเพียรพยายามที่จะแก้ปัญหาด้วยการตั้งกฏนักเตะท้องถิ่นขึ้นมาบังคับใช้ใน พรีเมียร์ลีก โดยกำหนดให้แต่ละทีมมีพ่อค้าแข้งที่ต้องเทรนอยู่ในเมืองผู้ดีอย่างน้อย

12 ชีวิตถูกใส่ชื่อรวมเอาไว้ในบรรดา 25 ขุนพลที่ต้องขึ้นทะเบียนในแต่ละซีซั่น แต่ก็ดูเหมือนว่ามันจะไม่ได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นสักเท่าไหร่ ไม่เพียงเท่านั้น ทีมลูกหนังของ พรีเมียร์ลีก ยังคลาคล่ำไปด้วยกุนซือจากต่างแดนเช่นกัน

เหลือแค่สี่จาก 20 สโมสรเท่านั้นที่ยังว่าจ้างกุนซือชาวอังกฤษ แต่ไม่มีเลยสักทีมในกลุ่ม ท๊อปซิกซ์ ที่ใช้บริการผู้จัดการทีมในประเทศ ถึงตรงนี้ หลายคนคงอยากรู้ว่าหลังการเทคโอเวอร์ นิวคาสเซิ่ล ยูไนเต็ดยังจะเหลือทีมในพรีเมียร์ลีก

อีกกี่ทีมที่มีเจ้าของเป็นชาวอังกฤษ? คำตอบคือห้าทีมเท่านั้น และที่แน่ๆ ก่อนที่ สาลิกาดง จะกลายมาเป็นข่าวพาดหัว แมนฯ ซิตี้ อีกทีมในความดูแลของกลุ่มทุนจากอาหรับเช่นกันต่างหากที่ถือครองสถานะสโมสรที่ร่ำรวยที่สุดในเมืองผู้ดี

อย่างไรเสีย รวมแล้วเป็นนักธุรกิจชาวอเมริกาที่จับจองทีมฟุตบอลใน พรีเมียร์ลีก ไปบริหารมากที่สุด จะเหลือไว้ก็แค่ สเปอร์ส ทีมเดียวในกลุ่ม บิ๊กซิกซ์ ที่ยังตกเป็นมรดกของอิงลิชชนอย่างแท้จริง สำหรับสโมสรที่มีเจ้าของเป็นชาวอเมริกันประกอบไปด้วย

อาร์เซน่อล , เบิร์นลีย์ , ลิเวอร์พูล และแมนฯยูไนเต็ด ขณะที่ แอสตัน วิลล่า ตกอยู่ในความครอบครองของชาวอเมริกัน และอียิปต์ในอัตราส่วน 50:50 เท่ากัน จะมีก็แต่ เวสต์แฮมยูไนเต็ดเท่านั้นที่นักธุรกิจสัญชาติแยงกี้ได้ถือหุ้นเพียงน้อยนิด

เนื่องจากหุ้นส่วนใหญ่ 90% อยู่ในกำมือเจ้าของประเทศ นอกนั้นอีกหลายๆทีมต่างก็มีเจ้าของเป็นชาวต่างชาติจากหลายๆชาติอาทิ เอฟเวอร์ตัน (อิหร่าน) , เซาธ์แฮมป์ตัน (จีน) , วูล์ฟส์ (จีน) , เลสเตอร์ (ไทย) , วัตฟอร์ด (อิตาลี) และ ลีดส์ (อิตาลี)

และสำหรับ เชลซี ต้องยอมรับว่า “เสี่ยหมี” เป็นผู้บุกเบิกการเทคโอเวอร์สโมสรฟุตบอลอังกฤษสำหรับชาวต่างชาติเพราะนับจากนั้น เทรนด์ที่ว่านี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นเป็นทวีคูณ แต่นอกจาก สิงห์บลูส์ แล้ว แมนฯ ซิตี้ ก็ได้เม็ดเงินของกลุ่มทุนจาก ยูเออี

พาทีมก้าวขึ้นสู่ความยิ่งใหญ่ ทว่านับจากนี้ไปทุกสายตากำลังจับจ้องไปที่นิวคาสเซิ่ลยูไนเต็ด ว่าจะก้าวขึ้นมาเป็นคู่แข่งแย่งชิงเค้กก้อนโตในเวทีเดียวกันนี้ด้วยหรือไม่? แล้วลีกยักษ์ใหญ่อื่นๆในยุโรปล่ะ? บุนเดสลีกา ลีกเมืองเบียร์มีกฏที่เข้มงวดเป็นแม่แบบที่ดี

ต่อการทำให้ลีกเติบใหญ่อย่างมั่นคง และมีสภาพทางการเงินที่สมเหตุสมผล มันเป็นเพราะพวกเขาออกแบบกฏเอาไว้ว่าหุ้นจำนวน 51% จะต้องตกอยู่กับแฟนบอลเพื่อป้องกันไม่ให้มีใครคนใดคนหนึ่งถือครองหุ้นก้อนโต ลีกเอิง ขยันขายทีมให้กับชาวต่างชาติ

ไม่ต่างอะไรกับ พรีเมียร์ลีก สักเท่าไหร่ ดังจะเห็นว่า ปารีส แซงต์ แชร์กแมง ก็มีสถานภาพเฉกเช่น แมนฯ ซิตี้ และนิวคาสเซิ่ลยูไนเต็ด ซึ่งตกเป็นสมบัติของเจ้าสัวอาหรับไปแล้ว สำหรับทีมอื่นๆในลีกเมืองน้ำหอมที่มีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของได้แก่

บอร์กโดซ์ (อเมริกา) , มาร์กเซย์ (อเมริกา) , ลีลล์ (ลักเซมเบิร์ก) , นีซ (ยูเค) , โมนาโก (รัสเซีย) และ นีซ (โปแลนด์) ลา ลีกา เป็นอีกลีกที่คับคั่งไปด้วยเจ้าของสโมสรต่างชาติไม่ว่าจะเป็น เอลเช่ (อาร์เจนติน่า) , เอสปันญ่อล (จีน), กรานาด้า (จีน) ,

สำรวจทีม บาเลนเซีย (สิงคโปร์) , มายอร์ก้า (อเมริกา) เซเรียอา ส่วนใหญ่แล้วเป็นชาวอเมริกันที่ถือครองความเป็นเจ้าของสโมสรในเมืองมะกะโรนีมากที่สุดทั้ง เจนัว , ฟิออเรนติน่า , มิลาน , สเปเซีย , โรม่า และ เวเนเซีย ขณะที่ โบโลญญ่า กับ อินเตอร์ ก็ถูกเจ้าสัวชาวแคนาดา และจีนเทคโอเวอร์ไปแล้ว เตรียมหากุนซือใหม่