อียิปต์คิงส์ ชายหนุ่มจาก อียิปต์ ผมหยิกมีเครา เดินทางมา ลิเวอร์พูล ด้วยความคาดหวังเล็กๆ น้อยคนที่จะมั่นใจว่าเขาจะสามารถยกระดับเกมรุกของทีมได้
อียิปต์คิงส์ เรื่องการทำประตูเป็นเพียงเป้าหมายเดียวที่แฟนบอลต้องการ อย่างไรก็ตาม จากความคาดหวังเล็กๆ นั้น เขาก้าวผ่านสิ่งนี้ได้อย่างรวดเร็ว
อิทธิพลของ โมฮาเหม็ด ซาลาห์ ไม่ได้มีขีดจำกัดแค่ในสนาม เพียง 2-3 เดือนกับชีวิตที่ ลิเวอร์พูล เขากลายเป็นไอคอน, เป็นแบบอย่าง ในการเปลี่ยนแปลงทิศทางบวก
เพียงไม่นานก็มีเสียงตะโกนจาก เดอะ ค็อป ที่ไม่เคยได้ยินใดมาก่อน
If he scores another few (หากเขายิงเพิ่มมากกว่านี้สักหน่อย)
Then I’ll be Muslim, too (จากนั้นผมก็จะเป็นมุสลิมด้วย)
If he’s good enough for you (หากเขาดีพอสำหรับคุณ)
He’s good enough for me (เขาก็ดีพอสำหรับผม)
Sitting in a mosque… (นั่งลงในมัสยิด)
That’s where I wanna be. (นั่นแหละคือสิ่งที่ผมต้องการ)
ที่จริง ซาลาห์ ก็ไม่ได้ตั้งใจจะให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแบบนี้เท่าไหร่หรอกครับ เขาก็แค่ใช้ชีวิตและทำงานตามปกติ
ท่าฉลองทำประตูอันโด่งดังของ ซาลาห์ ที่เป็นลักษณะการทำ ซุยุด (การคุกเข่าแล้วเอาศีรษะแตะกับพื้นสนาม) มันก็เป็นการทำเพื่อสื่อถึงความศรัทธาของตัวเองแค่ เท่านั้น
“มันเป็นเหมือนการละหมาด หรือการขอบคุณพระอัลเลาะห์ต่อสิ่งที่พระองค์ทรงประทานมาให้ผม” ซาลาห์ ให้สัมภาษณ์กับ ซีเอ็นเอ็น เมื่อปีก่อน
“มันเป็นเพียงการสวดภาวนาเท่านั้น และเป็นการสวดภาวนาเพื่อหวังให้ทีมชนะ ผมทำอย่างนี้มาโดยตลอด ผมทำมาตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นเด็ก และทำในทุกที่ที่ผมไป”
เขาไม่ได้ยึดติดอะไรกับชื่อเสียง และมีความถ่อมตัวเสมอมา นั่นคือบุคลิกของ โม ซาลาห์
อิทธิพลของ ซาลาห์ คือส่วนหนึ่งของตัวอย่างของการเป็นนักกีฬาที่ใช้สถานะความเป็นตัวเองก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีแบบชัดเจนมากที่สุด
รายงานวิจัยจาก ภาควิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ตีพิมพ์เมื่อเดือนพฤษภาคม เปิดเผยว่า อัตราการเกิดอาชญากรรมการคุกคามชาวมุสลิมในเมือง ลิเวอร์พูล นั้นลดลงถึง 18.9 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงข้อความต่อต้านมุสลิมในทวิตเตอร์ ก็น้อยลง นับตั้งแต่ ซาลาห์ ย้ายมาร่วมทีม ลิเวอร์พูล
“ทำไมความเกลียดชังถึงลดลงน่ะเหรอ? มีสองอย่างที่จะอธิบายเรื่องนี้ได้” วิลเลี่ยม มาร์เบิล หนึ่งในผู้ทำงานวิจัย มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด กล่าว
“อย่างแรก คนที่เคยก่ออาชญากรรมด้วยความเกลียดชัง ตอนนี้นับว่ามีความอดทนและฟังความเห็นของคนอื่นมากขึ้น แต่ผมคิดว่ามันเป็นไปได้ยากมากที่พวกหัวดื้อขั้นรุนแรงที่ก่ออาชญากรรมด้วยความเกลียดชังแบบนั้นจะมีความอดทนมากขึ้นเพียงเพราะได้ดูนักฟุตบอลที่ไม่เหมือนกับพวกเขา”
“ข้อสองที่ผมคิดว่ามันมีความเป็นไปได้มากกว่าข้อแรกก็คือพอคนพูดถึง โม ซาลาห์ กันหลายคนแล้ว มันเห็นได้ชัดว่าผู้คนแบบ ซาลาห์ ได้รับการมองในฐานะที่ดี มันเป็นเหมือนการส่งข้อความไปยังผู้คนที่มีแรงจูงใจในการก่ออาชญากรรมด้วยความเกลียดชังว่าหลายคนไม่ได้มีความคิดเหมือนกับพวกเขา”
ผลกระทบของ ซาลาห์ เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเรื่องปัญหา อาการกลัวอิสลาม (Islamophobia)
ปัญหานี้มันเกิดขึ้นตั้งแต่คนระดับสูง บอริส จอห์นสัน นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักร เคยเปรียบเทียบผู้หญิงที่สวมบูร์กา(burkhas) ผ่านทางคอลัมน์ ใน เดอ เทเลกราฟ เมื่อปีก่อน เชิงว่าเป็นเหมือนตู้รับจดหมาย
ซึ่งต่อมา เทลล์ มาม่า องค์กรต่อต้านการเหยียดผิวและชาติพันธุ์ ระบุว่า คำพูดของ จอห์นสัน ทำให้เกิดการต่อต้านชาวมุสลิมมากขึ้นถึง 375%
เรื่องที่กลุ่มอนุรักษ์นิยมเมินเฉยและไม่สนใจต่อกระแสความหวาดกลัวศาสนาอิสลาม(Islamophobia)มันถือเป็นปัญหาที่ร้ายแรงมากๆ
ในคอลัมน์อีกอันหนึ่งของ จอห์นสัน ที่อยู่ใน เดอะ สเป็คเตเตอร์ ตอนปี 2005 เขาบอกว่าการกลัวศาสนาอิสลาม(Islamophobia)เป็นเรื่อง “ปกติ”
จอห์นสัน ถึงขั้นประณามคนที่ศรัทธาศาสนาอิสลามว่าเป็น “กลุ่มนิกายที่โหดร้ายที่สุดในบรรดาทุกศาสนา เพราะพวกเขาปฏิบัติแบบโหดเหี้ยมกับคนที่ไม่เชื่อในศาสนาของพวกเขา”
ด้วยเหตุนี้ มันจึงไม่แปลกเท่าไหร่ที่ทัศนคติแบบนี้จะลามมาถึงโลกฟุตบอล
ในปี 2015 ชาวมุสลิมที่เป็นแฟนบอล ลิเวอร์พูล โดนล้อเลียนอย่างหนักเพียงเพราะพวกเขาทำละหมาดที่ แอนฟิลด์ และเมื่อไม่นานมานี้ ตอนเดือนเมษายน ปี 2019 แฟนบอล เชลซี ก็โดนถ่ายคลิปช็อตที่ตะโกนใส่ ซาลาห์ ว่า “เป็นมือวางระเบิด”
อย่างไรก็ตาม ทัศนคติในตอนนี้ถึงเรื่องดังกล่าวมันเปลี่ยนไป ซึ่ง ซาลาห์ คือสาเหตุที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงนั้น (เช่นเดียวกับ ซาดิโอ มาเน่ ที่ทำผลงานได้ดีพอๆ กัน)
“ผมอยู่ในสนามตอนเกมรอบรองชนะเลิศ แชมเปี้ยนส์ ลีก ที่โรม เมื่อปีที่แล้ว(2018) ซึ่งก่อนเกมจะเริ่มมันถึงเวลาที่พวกเขาต้องละหมาดช่วงบ่าย” ซาลิม คาสซาม ผู้แต่งหนังสือ The Muslim Vibe กล่าว
“เราเจอมุมที่จะทำการละหมาดและเราก็ได้การต้อนรับจากแฟนๆ ลิเวอร์พูล ด้วยเสียงปรบมือและคำตะโกน “โม ซาลาห์
“มันเป็นเรื่องที่คาดไม่ถึงจริงๆ ”
ถึงกระนั้น คัสซาม ยืนยันว่ายังเหลือเรื่องที่ต้องทำให้ได้มากกว่านี้อีก “ฟุตบอลมีศักยภาพที่จะนำมาซึ่งสิ่งที่ดีทีสุดและเลวร้ายที่สุดแก่ผู้คน น่าเสียดายที่ผมยังอยู่รู้สึกว่ามันยังไม่เพียงพอต่อการสู้กับการแบ่งแยกทุกประเภท ไม่ว่าจะที่อัฒจันทร์หรือบนสนาม”
มุมมองของ คาสซาน ได้รับการสนับสนุนจาก ซาลม่า มูซ่า อีกหนึ่งผู้ทำงานวิจัยของ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด เธอกล่าวว่า ยังมีเหตุการณ์อคติและการแบ่งแยกอยู่ในเกมฟุตบอล
“ผู้เล่นหลายคนต้องทนอยู่กับการเหยียดทั้งในและนอกสนาม” ซาลม่า กล่าว
“เหตุการณ์การกลัวอิสลาม อาจจะเป็นเรื่องที่หาได้ยากเพราะมันไม่ค่อยมีนักเตะชื่อดังที่นับถือมุสลิมมากเท่าไหร่ ส่วนที่ ลิเวอร์พูล มีนักเตะแบบนั้นอยู่ในทีม 2 คน”
เห็นได้ชัดว่ายังมีบางอย่างที่ต้องจัดการกันอีก
ฟุตบอลยังห่างไกลจากการเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของสังคมพลเมืองมีความเท่าเทียมกันในด้านสิทธิเสรีภาพ
ห่างไหลจากการเป็นกีฬาที่ผู้คนมีผู้คนหลากหลายเชื้อชาติ, ทุกศาสนา หรือทุกเพศ จะรู้สึกมีส่วนร่วมได้แบบไม่ต้องเจอกับเรื่องแย่ๆ
อย่างไรก็ตาม ผลกระทบของ ซาลาห์ มันไม่ได้เป็นเรื่องที่เล็กๆ มันยิ่งใหญ่เอามากๆ ยกตัวอย่างเช่น เบน เบิร์ด กองเชียร์ของ น็อตติงแฮม ฟอเรสต์ ยอมรับว่าตอนหนุ่มๆ ตัวเองเป็นโรคกลัวอิสลาม(Islamophobia) แต่เขาเปิดเผยกับ เดอะ การ์เดี้ยน เมื่อไม่นานนี้ว่า ซาลาห์ มีส่วนสำคัญที่ทำให้เขาเปลี่ยนมานับถือศาสนาอิสลามเป็นหลัก
“ซาลาห์ แสดงให้ผมเห็นว่าคุณเองก็สามารถเป็นคนปกติได้แม้ว่าจะนับถือมุสลิมก็ตาม คุณสามารถเป็นตัวของตัวเองได้”
มันเหมือนเป็นเส้นบางๆ ที่คั่นไว้ในโครงการใหญ่ๆ ที่ค่อยๆ เป็นค่อยไป แต่ถึงอย่างไรก็ถือเป็นเครื่องพิสูจน์ในความเป็นตัวตนของ ซาลาห์ ที่แสดงให้เห็นว่าการที่จะทำให้เกิดความประทับใจมากขึ้นนั้น เขาก็ไม่จำเป็นต้องทำอะไรเลย นอกจากการเป็นตัวของตัวเอง
ผลกระทบเชิงบวกของเขาได้รับการยอมรับไปทั่วกัน ซาลาห์ ซึ่งมีอายุ 27 ปี ติดหนึ่งใน 100 คนของผู้ทรงอิทธิพลโลกจากนิตยสารไทม์ส ประจำปี 2019 ซึ่งมันไม่ได้เกิดจากผลงานการทำประตูหรือความสำเร็จของ ลิเวอร์พูล เพียงอย่างเดียว
ซาลาห์ เคยออกมาเรียกร้องให้ผู้ชายในประเทศบ้านเกิด และชาวมุสลิมทั่วโลก ปฏิบัติกับเพศหญิงด้วยความเคารพมากกว่านี้
“โม ซาลาห์ มีความเป็นมนุษย์ที่มากกว่าแค่เป็นนักฟุตบอล” จอห์น โอลิเวอร์ ให้ความเห็นใน ไทม์ส
“และเขาเป็นหนึ่งในนักฟุตบอลที่ดีที่สุดของโลก โม คือบุคคลสำคัญของชาวอียิปต์, สเกาเซอร์ส และมุสลิม ทั่วทั้งโลก ถึงเขามีอิทธิพลขนาดนั้นแต่ก็ยังเป็นคนสมถะ, มีน้ำใจอยู่เสมอ”
เจอร์เก้น คล็อปป์ ผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูล เป็นอีกคนที่ออกมาสรรเสริญถึงความเป็นตัวตนของ โม ซาลาห์ “เขาเป็นมุสลิม และอาศัยอยู่ในโลกที่เรื่องเหล่านี้มักจะถูกพูดถึงในทางที่อันตราย ผู้คนมักจะคิดกันว่า -พวกนี้เป็นแบบนี้เหมือนกันหมด- หรือไม่ก็ -พวกนี้เป็นแบบนั้นเหมือนกันหมด-“
“มันถือเป็นเรื่องดีที่มีคนซึ่งเต็มไปด้วยความรู้สึกสนุกสนาน, เต็มไปด้วยความรัก และทำในสิ่งที่เขาทำตามปกติเกี่ยวกับศาสนาของเขา ซาลาห์ มีอิทธิพลต่อพวกเรามากๆ และถ้ามีใครคิดว่าเขามีอิทธิพลต่อทุกคนที่เหลือของโลกแล้วล่ะก็ มันก็ถือเป็นเรื่องดี ให้มันเป็นอย่างนั้นไปเลย เพราะมันจะเป็นการป่าวประกาศที่ยิ่งใหญ่ต่อโลกทั้งใบ”
มันเป็นเรื่องสำคัญกับโลกใบนี้ และสำหรับเมือง ลิเวอร์พูล ซาลาห์ ก็มีความหมายยิ่งต่อที่นี่
เขาเปรียบดั่งฮีโร่ท้องถิ่น สร้างแรงบันดาลใจให้กับเด็กๆ ที่เติบโตในเมืองนี้ และศรัทธาของ ซาลาห์ ก็เป็นเนื้อแท้ต่อบุคลิกความเป็นตัวตน
“หลังจากที่เราโพสต์บทความทางออนไลน์ไป เราได้เห็นการทวีตข้อความจากคนมุสลิมที่อยู่ในเมือง ลิเวอร์พูล ซึ่งมันสะท้อนภาพให้เรากระจ่างชัด” มาเบิล เผย
“ผู้หญิงหนึ่งคนบอกว่าเธอเคยตกเป็นเหยื่อของความเกลียดชัง แต่เธอก็เริ่มรับรู้ได้ว่าตัวเองได้รับการปฏิบัติที่ดีขึ้นหลังจากที่ ซาลาห์ อยู่กับ ลิเวอร์พูล ในฤดูกาลแรก” https://line.me/R/ti/p/%40ufabetwins
คาสซาม เองก็มีประสบการณ์กับการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกนี้ด้วยเช่นเดียวกัน “ในฐานะชาวมุสลิมและเป็นแฟนบอล ลิเวอร์พูล สิ่งที่งดงามสำหรับผมเกี่ยวกับผลกระทบจาก ซาลาห์ และ มาเน่ ก็คือการที่พวกเขาช่วยสร้างภาพลักษณ์ที่ดีได้โดยที่แทบจะไม่ต้องพยายามทำเรื่องใหญ่โตอะไรเลย”
“ซาลาห์ ไม่เคยพูดเรื่องความศรัทธาของตัวเองเลยในแต่ละครั้งที่ให้สัมภาษณ์ เขาแค่ทำง่ายๆ ด้วยการเผยแพร่ภาพลักษณ์ดีๆ ผ่านชื่อ มูฮัมหมัด(Muhammad) ของตัวเอง และผ่านทางการทำท่าเคารพตามปกติของศาสนาหลังจากที่ทำประตูได้”
“แฟนๆ ลิเวอร์พูล ก็เริ่มเปล่งเสียงร้องเพลงเกี่ยวกับ-นั่งในมัสยิด- แล้ว ซาลาห์ ก็เป็นของขวัญจาก พระอัลเลาะห์”
“มันถือเป็นเรื่องที่น่าชื่นใจสำหรับชาวมุสลิมอย่างแท้จริง”
คนคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงโลกได้ทั้งใบ เขาไม่จำเป็นต้องทำอะไร แค่ทำตัวเองให้ดูน่าเชื่อถือ น่าเคารพ เพียงเท่านี้ก็จะได้รับการยอมรับจากใครหลายคน
แต่สำหรับมนุษย์ตัวเล็กๆ อย่างเราๆ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนโลกอะไรให้ดีขึ้นกว่าเดิมหรอกครับ แค่คุณเปลี่ยนตัวเอง อะไรที่ไม่ดีก็โยนมันทิ้งไป ทุกอย่างมันเริ่มใหม่ได้เสมอหากเราตั้งใจที่จะทำมัน
ปีใหม่ ไม่จำเป็นต้องเป็นคนใหม่ เพราะมันสามารถทำได้ไม่ว่าวันไหนๆ แต่เหนื่อสิ่งอื่นใด หากคุณตั้งใจจะทำอะไรแล้ว อย่าท้อครับ สู้ต่อไปเพื่อตัวเราเอง
หน้าแรก >>> ข่าวฟุตบอล