เอฟเอ บริหารทีมเยี่ยม!ดับลินชูคล็อปป์เก่งเหมือนเฟอร์กูสัน

เอฟเอ ดิออน ดับลิน ออกโรงสรรเสริญ เจอร์เก้น คล็อปป์ กุนซือ ลิเวอร์พูล ว่าเป็นเหมือน นิว เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน พร้อมชี้ ตอนนี้มันดูเหมือนว่าจะไม่มีใครที่สามารถหยุด ลิเวอร์พูล ได้แล้ว

ดิออน ดับลิน อดีตนักเตะของ แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด สโมสรดังของศึก พรีเมียร์ลีก อังกฤษ กล่าวยกย่อง เจอร์เก้น คล็อปป์ ผู้จัดการทีม ลิเวอร์พูล ว่าเป็นคนที่เก่งกาจและทำทีมได้ดีเหมือน เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตำนานกุนซือของ “ปีศาจแดง”

ทีมของ คล็อปป์ ยังคงทำผลงานได้ยอดเยี่ยมอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดก็เพิ่งเปิดรัง แอนฟิลด์ เอาชนะ เอฟเวอร์ตัน 1-0 ในเกม เอฟเอ คัพ รอบ 3 นัดเมอร์ซี่ย์ไซด์

ดาร์บี้แมตช์ เมื่อวันอาทิตย์ที่ 5 มกราคม ที่ผ่านมา โดยคนที่ทำประตูชัยให้ทีมคือ เคอร์ติส โจนส์ ดาวรุ่งวัยเพียง 18 ปี

เอฟเอ

ดับลิน ซึ่งเคยร่วมงานกับ เฟอร์กูสัน ระหว่างปี 1992-94 เผยว่า “ในเกมที่เจอกับ ลิเวอร์พูล น่ะ ถ้าคุณไม่สามารถเปลี่ยนโอกาสให้เป็นประตูได้คุณก็จะต้องชดใช้

แบบเจ็บแสบ ลิเวอร์พูล ทำงานของพวกเขาได้เสร็จสิ้นตามเป้าหมาย ขณะที่ เอฟเวอร์ตัน ไม่ดุดันมากพอในครึ่งแรก” เข้าสู่โปรแกรมเอฟเอ คัพ ความรู้สึกของแฟนบอล

หลายคนอาจไม่ต่างอะไรกับการได้พักเบรก..หลายคนอาจรู้สึกแรงกว่านั้น.. ฟุตบอลลีกกำลังหวดกันโครมครามจะมาขัดจังหวะทำไม

เอฟเอ คัพ ไม่ได้เปี่ยมไปด้วยไฟอันร้อนแรง เป็นรายการที่เราตั้งหน้าตั้งตาคอยเหมือนสมัยก่อนอีกแล้ว จะบอกว่าความสำคัญของมันลดลงไหมก็คงใช่ ลองถามตัวเอง

ดูก็ได้ว่าในขณะที่เราไล่เรียงแชมป์พรีเมียร์ลีกกับยูฟ่า แชมเปี้ยนส์ ลีกย้อนหลังไปเป็นสิบปีได้แบบพรั่งพรู เราจำได้ไหมว่าทีมไหนคือแชมป์เอฟเอ คัพครั้งล่าสุดและย้อนขึ้นไปอีกไม่ต้องไกลมากเอาแค่ 5 ฤดูกาลหลังก็พอ

ถ้าใครไล่เรียงได้หมดก็ต้องยกนิ้วให้ว่ายังเป็นคนที่ใส่ใจในทุกรายละเอียดของฟุตบอลและเป็นคนที่คลั่งเกมลูกหนังอังกฤษจริงๆแต่หากจำไม่ได้ ไม่ใช่เรื่องผิดปกติหรือน่าอับอายอะไรหรอกครับ เพราะมันคือความเป็นจริงในโลกฟุตบอลปัจจุบัน

ลีกคัพกลายเป็นรายการที่ถูกลืมไปแล้วหนึ่งรายการ เอฟเอ คัพก็ตามมันไปเรียบร้อยแล้วเช่นกัน มันเกิดขึ้นเมื่อไหร่ไม่รู้อาจจะเกินสิบปีมาแล้ว แต่ความรู้สึกของเราที่มีต่อมันไม่เหมือนเดิม ข่าวฟุตบอล

นับเป็นโชคดีของแฟนบอลรุ่นกลางเก่ากลางใหม่ที่ยังทันมนต์เสน่ห์แห่งเอฟเอ คัพ ทุกเกมมีความหมาย ทุกเกมได้รับความสนใจต้องเฝ้ารอชมและติดตามผลการแข่งขัน

ลิเวอร์พูลจับสลากเจอเอฟเวอร์ตันในฤดูกาลนี้ยังพอมีความทรงจำสวยงามผุดขึ้นมาให้นึกถึงบ้าง นัดชิงปี 1986 และ 1989 กับฮีโร่ที่ชื่อ เอียน รัช

ประตูสุดสวยของ จอห์น บาร์นส์ กับสกอร์ 4-4 และเตะรีเพลย์กัน 2 แมตช์พร้อมการลาออกของ เคนนี่ ดัลกลิช ปี 1991 ลูกโหม่งของ เฟอร์กิล ฟาน ไดค์ ในการพบกันหนล่าสุดในรายการนี้

มันก็เท่านั้น เป็นความทรงจำที่ชวนให้อมยิ้มเหมือนคนรำลึกถึงความหลัง ประตูชัยของฟาน ไดค์ในรอบสามปี 2018 ถือเป็นความทรงจำที่ใหม่หน่อย

แต่ยอมรับว่าทรงเสน่ห์สู้ยุคเอจตี้ส์ต่อเนื่องไนน์ตี้ส์ไม่ได้เลย บางทีมันอาจรวมถึงประตูชัยของ เคอร์ติส โจนส์ เมื่อคืนวันอาทิตย์ที่ผ่านมาด้วย

สำหรับคนที่เคยหลงใหลในเอฟเอ คัพคงอดคิดถึงความคลาสสิกเก่าๆ ของมันไม่ได้นะครับ ยุคคลาสสิกของมันมีเสน่ห์และทรงพลัง แต่ก็เป็นไปตามวัฏจักรของทุกเรื่องราวนั่นแหละ ทุกอย่างมีช่วงเวลาขึ้นและลง

ให้ลองนึกดูอีกทีก็นึกไม่ออกจริงๆ ว่าช่วงหลังมีเกมไหนที่อยู่ในอารมณ์แบบนั้นบ้าง เกมที่วีแกน แอธเลติก พลิกล็อกมโหฬารเอาชนะแมนฯ ซิตี้

ในนัดชิงปี 2013 นั้นอันที่จริงต้องขึ้นหิ้งไปอยู่ในเกรดเดียวกับสุดยอดเกมตลอดกาลที่วิมเบิลดันโค่นลิเวอร์พูลเมื่อปี 1988 หรือโคเวนทรีพิชิตท็อตแน่ม

ฮ็อตสเปอร์ หนึ่งปีก่อนหน้านั้นแล้ว คือหลับตาก็มองเห็นภาพ การพูดถึงต้องยังคงอยู่ เพราะเกมนั้นคือตัวตนของความเป็นเอฟเอ คัพอย่างที่สุด

ความเป็นตัวตนที่ว่าก็คือเรื่องเหลือเชื่อที่เกิดขึ้นจริง สำหรับเอฟเอ คัพแล้วแจ๊คฆ่ายักษ์อยู่ร่ำไป เพียงแต่ในวันนี้วีรกรรมของแจ๊คไม่ได้เขย่าอารมณ์เหมือนก่อนอีกแล้ว

ในเกมนั้นไม่มีใครคิดว่ายอดทีมอย่างเรือใบสีฟ้าของ โรแบร์โต้ มันชินี่ แชมป์เก่าพรีเมียร์ลีก จะเสร็จวีแกนที่กำลังดิ้นรนหนีการตกชั้น แต่สุดท้าย เดอะลาติกส์ ของ โรเบร์โต้ มาร์ติเนซ ก็ทำได้

ลูกโหม่งในช่วงทดเวลาของ เบน วัตสัน นั้นเปรียบไปก็ยิ่งใหญ่เหมือนลูกโหม่งของ ลอว์รี่ ซานเชซ และลูกเซฟจุดโทษของ เดฟ บีแซนต์ ที่พาวิมเบิลดัน

พลิกล็อกมโหฬารชนะหงส์แดงในครั้งนั้นนั่นแหละ ความยิ่งใหญ่ของการพลิกล็อกนั้นไม่ต่างกัน เพราะยุคปลายทศวรรษที่ 80 ลิเวอร์พูล

ก็ครองความเป็นมหาอำนาจของวงการลูกหนังอังกฤษเหมือนวันที่แมนฯ ซิตี้ เดินลงสนามที่เวมบลีย์เมื่อปี 2013 หากสิ่งที่แตกต่างคงจะเป็นกาลเวลา

เอฟเอคัพในปี 2013 ไม่ได้อลังการและมีมนต์ขลังเท่ากับปี 1988 อีกแล้ว ความน่าสนใจ ความเป็นจุดโฟกัส ความเป็นรายการที่ใครๆ ก็อยากได้ อยากขึ้นชื่อว่าเป็นทีมที่ครองโทรฟี่สีเงินยวงอันเก่าแก่ที่สุดในโลกไม่ได้รุนแรงราวไฟปรารถนาลุกโชนอีกต่อไป

ถามว่าในวันนี้ยังมีความรู้สึกแบบนั้นกันอีกไหม บางทีมอยาก บางทีมเฉยๆ ได้ก็ดี ไม่ได้ก็งั้นๆ ไม่ยี่หระ ไม่ใช่รายการที่ต้องมุ่งมั่นถลกแขนเสื้อขึ้นเพื่อลุยแหลกคว้าแชมป์มาครองให้ได้อะไรอย่างนั้น

ประกอบกับความสนใจของแฟนบอลเองก็เช่นกัน เพราะในยุคนี้เราสามารถหาช่องทางเสพการแข่งขันฟุตบอลได้อย่างง่ายดาย อยู่ในสถานะคนที่เลือกได้ ไม่ใช่คนที่ต้องรอสถานีโทรทัศน์หยิบมาป้อนใส่ปากเหมือนสมัยก่อนที่เขาถ่ายคู่ไหนให้ดูก็ต้องดู

มีโอกาสได้ชมเกมถ่ายทอดสดแค่เดือนละครั้งสองครั้งความโหยหาจึงต่างกันมากเมื่อเทียบกับยุคนี้ที่เกมให้เลือกดูคืนหนึ่งๆ เป็นสิบๆ แมตช์ https://line.me/R/ti/p/%40ufabetwins

เงินรางวัลที่แตกต่างจากขุมทรัพย์ระดับมหาสมบัติของพรีเมียร์ลีกกับแชมเปี้ยนส์ ลีกก็เป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้แต่ละทีมรู้สึกธรรมดามากกับถ้วยที่เก่าแก่

อายุเกือบ 150 ปีใบนี้ เกียรติยศนั้นน่าสนใจแน่ๆ แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์ต้องเลือกก็เป็นอันรู้กันว่าพวกเขาจะเลือกรายการไหน นี่คือความประดักประเดิดของเอฟเอ คัพ

รู้ทั้งรู้ว่าความสนใจลดลงเรื่อยๆ แต่ก็ยังต้องจัดต่อไปเรื่อยๆ เช่นกัน ไม่อาจล่วงรู้หรือคาดการณ์ได้เลยว่าเมื่อไหร่ความอับเฉาจะหล่นไปถึงขีดสุด

ด้วยโปรแกรมที่ชุกชุมยิ่งขึ้นและความตกต่ำของเอฟเอ คัพยังทำให้มีแนวความคิดที่จะลดจำนวนเกมในเอฟเอ คัพลงไปอีกเพื่อเอื้อให้กับโปรแกรมเตะ

ให้แต่ละทีมในพรีเมียร์ลีกโดยเฉพาะทีมใหญ่ๆ นั่นคือแนวความคิดที่ว่าอาจจะมีการยกเลิกนัดรีเพลย์เป็นเตะเกมเดียวรู้ผลไปเลย

เอฟเอ

ผมยังไม่อยากคิดว่าสมาคมฟุตบอลอังกฤษจะไฟเขียวแนวคิดนี้จริงๆ ด้วยความที่โดยธรรมชาติแล้วกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ไม่ว่าจะเรื่องใดในอังกฤษมันเป็นเรื่องใหญ่เสมอและใช้เวลาพอสมควร

การรีเพลย์คือเสน่ห์เฉพาะตัวของเอฟเอ คัพเลยนะครับ ยุคก่อนนั้นเสมอเตะใหม่ไปเรื่อยๆ สองนัด สามนัด สี่นัด หรือจะกี่นัดก็ตามแต่จนกว่าจะได้ผู้ชนะ มาถึงยุคนี้ปรับให้กระชับลงก็ยังมีเกมรีเพลย์เหลือไว้หนึ่งเกม

อาร์เซน่อล กับ ลีดส์ ยูไนเต็ด 1990/91 ต้องเตะกันถึง 4 นัดกว่าทีมปืนใหญ่จะเข่นยูงทองจนได้หรือในรอบ 16 ทีมสุดท้าย 1989/90 ก็มีถึง 4 จาก 8 คู่ที่ต้องฟาดแข้งกันถึง 3 เกมจึงได้บทสรุป

ในความรู้สึกของคนที่เคยสัมผัสกับเอฟเอ คัพมาตั้งแต่ครั้งที่มันยังเต็มไปด้วยสีสันและทุกๆ ทีมปรารถนาที่จะคว้ามันมาครอบครองให้ได้ ผมยังชอบกฎเกณฑ์

เดิมที่สุดที่ว่าถ้าเสมอก็เตะใหม่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะมีทีมชนะ แต่ก็รู้ดีว่ามันใช้ไม่ได้แล้วกับฟุตบอลทุกวันนี้ ไม่มีใครรอได้อีกแล้วสำหรับเกมที่ต้องเตะรีเพลย์กัน 3-4 รอบ

กระนั้นจะให้ถึงขั้นยกเลิกเกมรีเพลย์ที่ปรับลงมาเหลือแค่เกมเดียวออกไปอีกผมคิดว่ามันทำร้ายเอฟเอ คัพเกินไปหน่อย กติกาเป็นอยู่ปัจจุบันที่ให้รีเพลย์เต็มที่

แค่นัดเดียวนั้นผมมองว่าเหมาะสมดีแล้ว อย่างน้อยมันก็มีประโยชน์ในแง่แรงจูงใจของทีมเล็กยามพบกับทีมใหญ่ ชนะได้ก็ล้มยักษ์ เสมอได้ก็ยังมีโอกาสเตะอีกเกม กินส่วนแบ่งถ่ายทอดได้อีกต่อ

ถ้าให้ยกเลิกเกมรีเพลย์ไปหมดเลยเป็นเตะเกมเดียวจอดจริงๆ เสมอต่อเวลา เสมออีกยิงจุดโทษ แม้จะทำให้รายการกระชับขึ้นอีกแต่บุคลิกของมันแทบจะหายไปสิ้น มันอาจจะยังเป็นเอฟเอ คัพอยู่ตามชื่อรายการแต่ไม่ใช่เอฟเอ คัพที่เรารู้จักแน่ๆ

บอกไม่ได้หรอกครับว่าจะมีฝ่ายไหนเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยอย่างไรบ้าง บางทีมอาจสนับสนุน บางทีมอาจเฉยๆ หน้าไหนก็ได้ บางทีมอาจค้านหัวชนฝาขอให้รักษากติกาเดิมเอาไว้

ถึงที่สุดแล้วเอฟเอ คัพอาจจะต้องเดินไปถึงจุดที่มีความเปลี่ยนแปลงอีกครั้งอยู่ที่ว่าจะเปลี่ยนใหญ่หรือเปลี่ยนเล็ก ไม่อย่างนั้นมันก็จะเฉาลงไปเรื่อยๆ และเรื่อยๆ จนกลายเป็นรายการที่ถูกลืมไปโดยสิ้นเชิงในที่สุด

ผมจึงสนใจการมาถึงของเอฟเอ คัพรอบสามในหลายๆ ปีที่ผ่านมารวมถึงฤดูกาลนี้ในอีกแง่หนึ่ง นั่นคือไม่ได้ตื่นเต้นกับบิ๊กแมตช์ที่ทีมใหญ่ๆ จับสลากมาชนกันเอง หากเป็นการสังเกตการณ์ดูว่ามันเป็นอย่างไรบ้างในวันนี้ ยังอยู่ดีมีสุขไหม

เหมือนได้ทักทายเพื่อนเก่าที่สุขภาพทรุดโทรมลงทุกวันๆ ใจประหวัดคิดถึงวันเก่าๆ ที่เคยวิ่งเล่นกระโดดลำคลองสนุกสนานร่วมกันมา ในวันนี้แม้จะยังเจอหน้ากันอยู่แต่ต่างฝ่ายต่างก็รู้ว่าสิ่งต่างๆ รอบตัวนั้นเปลี่ยนไปหมดแล้ว

ตึกสูงเสียดฟ้าบดบังสายตา ร้านข้าวต้มที่เคยพลุกพล่านกลับเงียบเหงา แผงหนังสือน้อยใหญ่ทยอยปิดตัว